กลุ่มวังขนาย คุมเข้มสร้างความมั่นใจให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย พร้อมรับมือสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิด 19 รอบใหม่ เมื่อเร็วๆ นี้ น.ส.ธัญรักษ์ ณ วังขนาย ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป กลุ่มวังขนาย ได้เปิดเผยว่า“จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด – 19 ในรอบใหม่ ที่ได้แพร่ระบาดไปในหลายจังหวัด ทั้งในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้สร้างความวิตกกังวัลให้คนไทยเป็นอย่างมากนั้น
ในส่วนของกลุ่มวังขนาย มีสำนักงานใหญ่อยู่กรุงเทพฯ
และมีโรงงานผลิตน้ำตาล 4 แห่งคือที่ จ.นครราชสีมา, ลพบุรี, สุพรรณบุรี และมหาสารคาม ซึ่งที่ผ่านมา กลุ่มวังขนายได้มีการรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ออกมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 ให้พนักงานปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด คือ สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้านหรือปฏิบัติงาน เว้นระยะห่าง “Social Distancing” ในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนกลางของบริษัทฯ หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง หรือพื้นที่สาธารณี่ทีความแออัด และสแกน “ไทยชนะ” ทุกครั้งที่เข้า-ออก พื้นที่สาธารณะ ล้างมือด้วยน้ำสะอาด หรือทำความสะอาดด้วยเจลแอลกอฮอล์เป็นประจำ และในช่วงที่มีการระบาดรอบแรก ยังได้ให้พนักงานทำงานที่บ้านหรือ Work From Home นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมให้พนักงานได้ติดตามข่าวสารและอัพเดทข้อมูลเป็นประจำ เพื่อจะได้มีความรู้ในการป้องกันตัวเอง ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทางกลุ่มวังขนายและโรงงานในต่างจังหวัด ยังไม่ตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิด – 19 ภายในบริษัทฯ แต่อย่างใด
น.ส.ธัญรักษ์ ยังได้กล่าวต่อไปว่า “ในฤดูหีบอ้อย 2563/2564 ที่โรงงานกำลังเปิดรับอ้อยจากเกษตรกรชาวไร่อ้อยอยู่ในขณะนี้ กลุ่มวังขนายได้เตรียมมาตรการป้องกัน และปฏิบัติตามมาตรการของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด คือการตั้งบูธวัดอุณหภูมิร่างกาย จัดเตรียมเจลแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อโรคไว้คอยบริการ ทำความสะอาดและฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในพื้นที่ส่วนกลางทุก 2 วัน ดังนั้น จึงอยากให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยมั่นใจได้ว่าจะปลอดภัยจากการติดเชื้อโควิด – 19 แต่เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ เราทุกคนต้องหมั่นสังเกตตัวเองว่ามีอาการเจ็บคอ เป็นไข้ หรือเป็นหวัดในช่วงนี้บ้างหรือไม่ รวมถึงหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือไปในสถานที่เสี่ยงกับการติดเชื้อ
วันโอนเงิน ประกันรายได้สวนยางงวด 2 เช็คเงินส่วนต่างราคยาง
25 ธ.ค. 2563 – เวลา 10.00 น.นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้แจ้งเกษตรกรถึงสิทธิที่ได้รับ ต่อการออกประกาศของการยางแห่งประเทศไทย หรือ กยท.
เรื่อง กำหนดราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 ปี 2563/64 รอบที่ 2 จากคณะกรรมการกำหนดราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง
เงินประกันรายได้สวนยางเข้าวันไหน
ประกาศข้างต้นระบุถึงราคากลางอ้างอิงการขายตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางและหลังวันประกาศนี้แล้วขั้นตอนต่อไปคือภายใน 3 วันทำการทาง ธ.ก.ส.จะทำหน้าที่โอนเงินส่วนต่างงวดนี้เข้าบัญชีเกษตรกรชาวสวนยางโดยตรงตามสิทธิที่ได้รับขณะนี้การยางฯส่งรายชื่อให้ ธ.ก.ส.ครบแล้ว คาดว่าจะโอนไม่เกินวันที่ 28 ธันวาคม 2563ซึ่งทันเป็นของขวัญปีใหม่ชาวสวนยาง
เงินส่วนต่างราคายางได้กี่บาท
1) ยางแผ่นดิบคุณภาพดี ราคายางที่ประกันรายได้ 60.00 บาทต่อกิโลกรัม ราคากลางอ้างอิงการขาย 62.83 บาทต่อกิโลกรัม ด้วยราคากลางอ้างอิงสูงราคาประกันรายได้จึงไม่ต้องจ่ายส่วนต่างหรือชดเชย
2) น้ำยางสด (DRC 100%) ราคายางที่ประกันรายได้ 57.00 บาทต่อกิโลกรัม แต่ราคากลางอ้างอิงการขาย 49.83 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรจะได้รับชดเชย 7.17 บาทต่อกิโลกรัม
3) ยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ราคายางที่ประกันรายได้ 23.00 บาทต่อกิโลกรัม ราคากลางอ้างอิงการขาย 19.35 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรจะได้รับชดเชย 3.65 บาทต่อกิโลกรัม สรุปคือได้รับส่วนต่างในยางพารา 2 ชนิดคือน้ำยางสดกับยางก้อนถ้วย
นางมัลลิกา กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์ราคายางแผ่นดิบคุณภาพดีอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเกินราคาที่ประกันรายได้ไว้เช่นเดียวกันกับการจ่ายรอบที่แล้วซึ่งรอบที่แล้วนั้นนายจุรินทร์เป็นประธาน Kick off ไปเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2563 มีเกษตรกรได้รับส่วนต่างงวดแรกตามเกณฑ์ที่รัฐให้นโยบายไว้โดยนโยบายนี้รัฐบาลประกันรายได้ไว้ที่ ยางแผ่นดิบคุณภาพดี ราคา 60 บาทต่อกิโลกรัม น้ำยางสด (DRC 100%) ราคา 57 บาทต่อกิโลกรัม และยางก้อนถ้วย (DRC 50%) ราคา 23 บาทต่อกิโลกรัม
โดยกำหนดปริมาณผลผลิตยางที่จะประกันรายได้ คือ ผลผลิตยางแห้ง (DRC 100%) จำนวนไม่เกิน 20 กิโลกรัม/ไร่/เดือน และผลผลิตยางก้อนถ้วย (DRC 50%) จำนวนไม่เกิน 40 กิโลกรัม/ไร่/เดือน สำหรับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป็นสวนยางอายุ 7 ปีขึ้นไปที่เปิดกรีดยางได้แล้วรายละไม่เกิน 25 ไร่ มีสัดส่วนแบ่งรายได้ระหว่างเจ้าของ 60% และคนกรีดยาง 40% ระยะเวลาโครงการปี2 คือระหว่างเดือนกันยายน 2563 – กันยายน 2564
ด้วยผลทดสอบนี้ น่าจะบ่งบอกได้ดีถึงประสิทธิภาพของวัคซีน mRNA ได้ดีในระดับนึง และเป็นเหตุผลว่า ทำไมวัคซีน ChulaCOV น่าจะเป็นวัคซีนตัวความหวังของคนไทย
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง